บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นน่าตื่นเต้นและรุ่มรวยด้วยเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบ้านทั้งยุ8เก่าที่สวยงามประณีตในงานฝีมือ หรือบ้านใหม่ที่เผยให้เห็นความกล้าทดลองของพวกเขาแม้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด อย่างการการออกแบบบ้านที่เรียบง่าย ก็ไม่ไดง่ายแบบไม่มีรายละเอียดอะไรเลย

เพราะในความน้อยก็ยังขึ้นชื่อว่ามาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานที่ตรงไปตรงมา เหมือนเช่น บ้านในอากิชิมะโดย Office M-Saแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเรียบง่ายภายนอกทั้งสีและวัสดุ แต่ภายในกลับซ่อนแนวคิดให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบและการใช้งานในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง คลิ๊กที่นี่

บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

 

Office m-sa ออกแบบ “Wakuwakusuru” Tsukuri no House บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบเริ่มต้นด้วยการสนทนากับเจ้าของบ้าน ที่มีความต้องการค่อนข้างแปลก คือ“ต้องการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน ตอบสนองต่อเวลาไม่เฉพาะวันนี้ และต้องใช้งานได้ทั้งหมดอย่าง

มีประสิทธิภาพ” สถาปนิกจึงตีโจทย์บ้านซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมที่ปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและชีวิต เป็นบ้านสองชั้นผสมผสานระหว่างคอนกรีต ไม้ กระจก มีบันไดเดินเข้าสู่ดาดฟ้าได้โดยตรงระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง จะเห็นว่างานหลัก ๆ จะมีสองส่วนคือ ส่วนฐานรากและองค์ประกอบของบ้านหลัก ๆ จะเป็นวัสดุคอนกรีตเปลือย แล้วค่อยเติมส่วนที่เลือด้วยไม้และกระจก

ทีมงานชั่งน้ำหนักระหว่างความแตกต่างและความแข็งแกร่งของคอนกรีต และความอบอุ่นเป็นมิตรของไม้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงในแง่ของพื้นผิวและความทนทาน ตามแผนภาพรวมใหญ่ของบ้านหลังนี้ ต้องการการทำให้บ้านน่าอยู่ในปัจจุบันและพร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้นรากฐานต้องทนทานต่อการสึกหรอได้ดี

เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่อาจยืนยาวอยู่ในบ้านได้นับสิบนับร้อยปี ก็เลือกใส่ในจุดที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง อาทิ ฐานราก บันได ซุ้มประตูเป็นโครงหลัก ๆ สามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับบ้านใหม่ สนามเด็กเล่น หรือเวทีสำหรับการแสดงในอนาคต ส่วนโครงสร้างที่สามารถขยายหรือรื้อถอนได้ภายในไม่กี่ปีหากมีความจำเป็นต้องขยับขยายปรับเปลี่ยนก็ใช้งานไม้เป็นหลักบันไดคอนกรีดที่ต่อเชื่อมกับซุ้มประตูโค้ง ถึงจะไม่มีสีสัน รูปแบบเรียบๆ แต่กลับกลายเป็นจุดสนใจที่ชวนให้โฟกัสสายตาในกลางบ้าน Luxury villa

บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล

หลังจากส่วนคอนกรีตเรียบร้อย สถาปนิกก็เติมให้ส่วนหลังคาและผนังล้อมอยู่ระหว่างฐานรากเพื่อให้เกิดช่องว่างภายใน ไม่มีเสาบ้าน ให้พื้นที่บ้านเชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนบ้านที่มีเสาแล้วก่อห้องปิดทึบแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย  ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางกิจกรรมรายวันที่อาจไม่เหมือนกัน บ้านในอากิชิมะนั้นจึงเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอย การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่ายซึ่งครอบครัวสามารถกลับบ้านมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย

ผนังในส่วนที่เป็นงานไม้อัด ไม่ได้หมายความว่าไม่แข็งแรง เพราะหากเลือกไม้อัดไส้ไม้ที่มีความหนาตามสเปคการใช้งาน จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่แพ้ไม้แท้ และยังสามารถดัดโค้ง ตัด ใช้งานได้หลายรูปแบบ หากวันไหนสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ผนังที่ไม่จำเป็นก็สามารถรื้อถอนได้ง่ายโดยไม่กระทบต่อโครงสร้างหลักของบ้าน

สีเทาและพื้นผิวของคอนกรีต หากใช้ในบริเวณกว้างเกินไปก็อาจดูแข็งกระด้าง เมื่อถูกจับคู่กับไม้ทำให้ความอบอุ่นมาลดทอนความดิบได้อย่างลงตัวพอดี

บันไดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยจะเรียกว่า “บันไดโจร” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบันไดนอกบ้านเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงตัวบ้านบริเวณชั้นบนได้ง่าย การทำบันไดด้านนอกมีข้อดีตรงที่สามารถขึ้นลงได้โดยไม่ต้องเดินผ่านลัดเข้าไปในตัวบ้าน จึงยังคงความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ก็ต้องแน่ใจว่าบ้านมีระบบความปลอดภัยของประตูหน้าต่างอย่างดี

บ้านโมเดิร์นหลังคาเมทัลชีท

บ้านโมเดิร์นหลังคาเมทัลชีท

ยุคนี้เป็นยุคของความเรียบง่าย น้อยแต่มาก ซึ่งเห็นได้ชัดในงานสถาปัตยกรรมด้วย ตัวอย่างอาคารในเนื้อหานี้ก็มาจากแนวคิดนั้นเช่นกัน ที่นี่คือโครงการบ้านและออฟฟิศสถาปนิก Yukawa Design Lab เป็นอาคารที่พยายามตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม โดยการแทรกพื้นที่ว่างที่เริ่มต้นจากถนนส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ ในขณะที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ธรรมชาติที่อยู่ติดกันได้ ทีมงานออกแบบรูปทรงเรียบ ๆ แบบโมเดิร์นมินิมอลเส้นสายน้อย ๆ คมชัด

อาคารสร้างบนพื้นที่ 126 ตารางเมตร สถาปนิกแบ่งสัดส่วนบ้านออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีหลังคาสูงแบบเพิงหมาแหงนสลับด้านกัน วัสดุหลังคาและผนังภายนอกใช้เมทัลชีท จัดตำแหน่งช่องเปิดและฟังก์ชันภายในโดยเน้นให้บ้านสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลัก ๆ คือ แสง (Light), ลม (Wind),  ธรรมชาติ (Green), โทนสี (Color),  การปฏิสัมพันธ์กับชุมชน (People) แต่ยังมีระดับความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง จากผนังที่ปิดทึบด้านข้าง

จากหน้าบ้านจะมีชานกลางแจ้ง

เทคอนกรีตเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานเข้ามาในตัวอาคาร ซึ่งตกแต่งแบบน้อยแต่มากในสไตล์มินิมอลโมเดิร์น แต่ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม เมื่อเราเดินเข้ามาในบ้านญี่ปุ่น เห็นพื้นที่โล่ง ๆ มีไว้สำหรับเก็บและวางรองเท้า พื้นที่ส่วนนี้เรียกว่า โดมะ (doma) ซึ่งจะอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดิน ในขณะที่ส่วนอื่นของบ้านจะถูกยกระดับให้สูงกว่าระดับพื้นดินเล็กน้อย บ้านนี้ก็มีเช่นกันแต่จะทำเป็นบริเวณกว้าง ๆ สำหรับต้อนรับแขกได้

บ้านโมเดิร์นหลังคาเมทัลชีท

ถัดจาก DOMA จะค่อย ๆโครงการบ้าน เป็นพื้นที่ยกระดับขึ้นมีบันไดไม้ 2 จุดนำขึ้นไปสู่ส่วนของ Office ที่เป็นเหมือนเวทีขนาดใหญ่ ระหว่างบันไดเว้นระยะเป็นสำหรับปลูกต้นไม้ในอาคาร วิธีนี้ทำให้ต้นไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านอย่างแนบสนิท การใช้วัสดุเลือกที่ตอบสนองต่อแสงและสี เช่นเพดานโลหะ ฉากโชจิ และประตูแบบเลื่อนจากโพลีคาร์บอเนตโปร่งใส  สำหรับการจัดตำแหน่งหน้าต่างเน้นให้รับแสงธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และสามารถมองเห็นวิวได้จากหลายทิศทาง

บานประตูโพลีคาร์บอร์เนตแยกพื้นที่ทำงานออกจากส่วนอื่น ๆ ของบ้านแต่ยังสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้ การเลือกวัสดุชนิดนี้มาทำผนังให้แสง เงา และสีที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา ทำให้บ้านดูน่าสนุก ตัวผนังเลื่อนไปมาได้สามารถปิดเพิ่มความเป็นส่วนตัวและเปิดออกได้เท่าที่ต้องการ จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าผนังก่อปิดทึบแล้วใส่ประตูบานเล็ก ๆ

จุดกึ่งกลางของบ้านเหนือต้นไม้ เจาะช่องว่างระหว่างพื้นถึงเพดานแบบ Double Space ซึ่งจะช่วยให้บ้านโปร่งและสบายขึ้น เนื่องจากอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและไหลออกตามช่องทางระบายความร้อนได้ง่าย พื้นที่รอบ ๆ ช่องว่างนี้ยังจัดเป็นส่วนใช้งานที่สามารถมองเห็นระหว่างชั้นบนและชั้นล่างได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนก็ไม่ขาดการติดต่อ

บ้านโมเดิร์นหลังคาเมทัลชีท

ห้องนั่งเล่นที่ติดตั้งประตูโชจิ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่บ้านญี่ปุ่นไม่เคยลืม บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ก็ยังหยิบจับมาใช้งาน ประตูบานเลื่อนโชจินี้วิธีทำดั้งเดิมจะใช้ไม้มาตีเป็นช่องๆ แล้วแปะกระดาษสาขาวๆ บางๆ เพื่อใช้ป้องกันห้องที่ปูเสื่อทาทามิไม่ให้โดนแสงแดดมากเกินไป (สังเกตว่าในห้องนี้ก็ปูเสื่อทาทามิเช่นกัน)  ในขณะเดียวกันแสงก็ยังผ่านได้บ้างจึงไม่ทำให้ห้องมืด แต่ปัจจุบันหลายๆ บ้านเปลี่ยนจากการใช้กระดาษที่ไม่ทนทานต่อการใช้งาน มาเป็นวัสดุโปร่งแสงที่ให้เอฟเฟ็กต์และบรรยากาศที่ใกล้เคียงกันแทน สำหรับบ้านนี้ไม่เพียงแต่ทำบานประตูโชจิแต่ยังประยุกต์ทำเป็นหลังคาโปร่งแสงด้วย

บ้านในญี่ปุ่นที่ผูกพันกับธรรมชาติ วัสดุหลักที่ขาดไม่ได้คือไม้จริงที่ให้สีแตกต่างกันไปตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ต้นสน cypress ส่วนผนังอื่นๆ ในบ้านจะใช้สีขาว เพื่อให้แสงส่องสะท้อนภายในเพิ่มความเบาสบายและสะอาตตา การจับคู่สีและวัสดุแบบนี้ถือไม้ตายของการออกแบบบ้านยุคใหม่ในญี่ปุ่น เพิ่มการปลูกต้นไม้เอาไว้ในตัวบ้าน ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มพื้นที่ธรรมชาติในบ้าน แม้จะมีพื้นที่น้อยก็ไม่ขาดสีเขียว


Author: admin