บ้านสองชั้นสำหรับเจ้าตูบ

บ้านสองชั้นสำหรับเจ้าตูบ

บ้านสองชั้นสำหรับเจ้าตูบ

บ้านสองชั้นสำหรับเจ้าตูบ ในย่านชานเมืองนิวทาวน์อันเงียบสงบของซิดนีย์ มีบ้านสองชั้นชื่อสตรอเบอรี่เฮาส์ตั้งอยู่ ด้านหน้าเป็นบ้านยุคเก่าที่เต็มไปด้วยความประณีตแบบคลาสสิค ส่วนท้ายของบ้านมีสวนกว้างๆ หันหลังให้ถนนที่เงียบสงบ จึงดัดแปลงและต่อเติมบ้านเพิ่มในจุดนี้ โดยผสมผสานบ้านสองหลังที่เป็นอิสระเข้าด้วยกัน

และในขณะที่ส่วนหน้าของถนนก็ได้รับการปรับปรุงใหม่สร้างความประทับใจให้กับบ้านสองหลัง กลายเป็นชุดของพื้นที่ต่างยุคที่อบอุ่นและสว่างไสวสามารถใช้ตอบโจทย์ชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการรองรับใช้งานของสมาชิกน้องหมาสี่ขาที่สะดวกขึ้นด้วย

บ้านด้านหลังต่อจากแนวสันหลังคาบ้านเดิมออกมาเป็นชุดของพื้นที่กว้างขวาง เต็มไปด้วยแสงธรรมชาติและการเชื่อมต่อกับภายนอก โปรเจ็กต์นี้มีฟังก์ชันพิเศษสำหรับสมาชิกแก๊งค์ 4 ขา อาทิ ประตูบ้านไม้ที่เจาะประตูเล็ก ๆ เพื่อให้น้องหมาได้เข้าออกบ้านเอง โดยที่เจ้าของไม่ต้องเดินมาปิด-เปิดประตูให้

ออกแบบบ้านใช้งานร่วมกับสัตว์เลี้ยง

ด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของบ้านและสถาปนิก จึงได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นการออกแบบบ้านที่โดดเด่นด้วยหลังคาเฉียงสูงขนาดใหญ่ โชว์โครงคานหลังคาไม้เส้นสายชัดเจน ภายในพื้นที่ที่ผสมผสานกันระหว่างความอบอุ่นของงานไม้ เฉลียงแคบๆ ที่เคยมืดมิดและรกร้างก่อนหน้านี้ ได้เปลี่ยนเป็นบ้านที่กว้างขวางและสว่างไสว โดยเชื่อมต่อกับพื้นที่กลางแจ้งอย่างแนบสนิทผ่านประตูกระจกบานใหญ่ พร้อมการระบายอากาศตามธรรมชาติเต็มรูปแบบ

พื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ๆ จะอยู่ที่ชั้นบน เพื่อให้สามารถมองเห็นวิวได้กว้างและไกล รวมทั้งยังเปิดรับลมเย็นๆ ได้มากว่าชั้นล่าง ภายในประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น/ห้องครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเรียงกันไปโดยไม่ได้ทำผนังทึบแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อยเหมือนบ้านเก่า ผนังที่ติดกับระเบียงใส่ประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่

แทรกด้วยหน้าต่างบานเกล็ดสูงจากพื้นจรดเพดาน ทำหน้าที่เป็นช่องแสงช่องลมดึงพลังจากธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่นี้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีหลังคา Skylight เหนือโถงบันไดให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านที่สว่างจนไม่ต้องเปิดไฟฟ้าในช่วงกลางวันประตูกระจกกว้างๆ ที่ทำให้ดูเหมือนบ้านไร้ผนัง มองออกไปเห็นต้นไอริชสตรอว์เบอร์รีอายุหลายสิบปี ซึ่งบ้านนี้ก็อ้างอิงมาจากชื่อของต้นไม้ต้นนี้ ซึ่งเดิมทีเจ้าของปลูกไว้เมื่อย้ายเข้ามาครั้งแรก

วัสดุของออสเตรเลียแม้จะเหมือน ๆ กับที่อื่นแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่าง ตามวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น อย่างในบ้านนี้จะเลือกใช้ไม้เนื้อแข็งรีไซเคิลของออสเตรเลียที่ให้สีโทนน้ำตาลแดง แผ่นพื้นไม้และงานบิลท์อินไม้สีอ่อน ซึ่งนิยมใช้สีบีช แอช และเมเปิ้ล  ถ้าเข้มขึ้นอีกนิดก็โอ๊ค มะฮอกกานี และซีดาร์ที่ใช้ภายนอกได้

พื้นไม้จะปลอดภัยสำหรับทั้งคนและน้องหมา ไม่ทำร้ายข้อต่อ ไม่ลื่น จึงใช้งานอย่างสบายใจ ส่วนครัวจะใช้โต๊ะครัวสแตนเลสแบบตั้งโต๊ะเพื่อเพิ่มความทนทานของพื้นที่ท็อปด้วยไม้ให้เข้ากันกับส่วนอื่นๆ  ระเบียงตั้งอยู่ไม่ไกลจากส่วนหน้าอาคารด้านหลัง ปกคลุมด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์และกันสาดทำจากวัสดุคอมโพสิท FRP (Fiber Reinforced Plastic) แบบตาราง

มุมโปรดของเจ้าของบ้าน (แต่ไม่แน่ใจว่าน้องหมาจะชอบไหม) คือ มุมอาบน้ำที่สั่งออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถใช้งานอาบน้ำให้น้องๆ ได้ง่าย มีอ่างอาบน้ำติดฝักบัวเรียบร้อย มีจุดพักเป่าขน และกระดานให้สไลด์ลงเองได้เมื่อเสร็จกระบวนการ หรือจะใช้นอนรอคิวให้กำลังใจเพื่อนก็ได้เช่นกัน

สัตว์เลี้ยงสำหรับบางบ้านสองชั้นถือว่าเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ต้องใส่ใจเช่นกัน หากมีส่วนประกอบของบ้านที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะทำให้น้องๆ เสียสุขภาพได้เร็วกว่าอายุจริงได้ เช่น วัสดุปูพื้นบ้านที่ต้องปลอดภัยต่อเล็บ กระดูกและข้อของสุนัขและแมวด้วย บางชนิดวัสดุแข็งแรงทนต่อรอยขีดข่วนก็จริง

แต่ถ้าพื้นผิวมีความลื่นจะมีส่วนให้อุ้งเท้าไม่สามารถยึดหลักกับพื้นได้ อาจจะไถลและขาแบะออก เช่นพื้นกระเบื้องผิวมัน ส่งผลให้กิดโรคกระดูกบริเวณสะโพกและข้อต่อเมื่อสัตว์เลี้ยงอายุมากขึ้น  ควรเลือกพื้นผิวที่แข็งแรงแต่มีความยืดหยุ่นที่ช่วยลดแรงกระแทกได้ เช่น พื้นไม้จริง พื้น SPC  พื้นไม้เอ็นจิเนียร์ พื้นปูพรมแข็ง ๆ เป็นต้นบ้านสองชั้น

Author: admin