บ้านสีขาวสองชั้น

บ้านสีขาวสองชั้น

บ้านสีขาวสองชั้น

บ้านสีขาวสองชั้น

บ้านสีขาวสองชั้น บ้านสีขาวสองชั้นหลังคาทรงจั่ว กับกลิ่นอายของความร่วมสมัยผสานเข้ากับความเป็นมินิมอล บนพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 180 ตารางเมตร ตั้งอยู่ท่ามกลางความเงียบสงบของธรรมชาติ ด้านหลังบ้านเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ โดยรอบที่ยังคงปลูกกล้วย เลี้ยงไก่ ตามวิถีชีวิตแบบชนบท ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ได้รับการออกแบบโดย คุณโปลก้า ธนกร ฉัตรทิพากร สถาปนิกผู้ก่อตั้ง DEPTH Architect Studio สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้ามาสานต่อโจทย์ความต้องการของผู้เป็นเจ้าของก่อร่างสู่ บ้านสวนในฝัน ได้อย่างตรงใจบ้านสองชั้นสำหรับเจ้าตูบ

บ้านสีขาวสองชั้นสไตล์มินิมอล อบอุ่นท่ามกลางวิถีชนบท ด้วยงบประมาณ 2.6 ล้าน 

บ้านสีขาวสองชั้น

สถาปนิกหนุ่มเล่าให้เราฟังว่า เดิมที่ดินผืนนี้มีลักษณะหน้าแคบแต่ลึกเข้าไปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยรอบที่ดินติดกันเป็นของญาติพี่น้องที่ยังคงทำสวนกันเป็นส่วนใหญ่ เจ้าของจึงมีแพลนว่าจะยังไม่ทำรั้วบ้าน ต้องการเพียงตัวบ้านก่อน ผู้ออกแบบจึงได้ดึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ ที่เป็นดั่งวิวจากธรรมชาติ เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักของการออกแบบ แต่ในขณะเดียวกันวิวที่เห็น เขาก็ได้วางแผนไว้เผื่ออนาคตด้วยเช่นกันว่าหากพื้นที่ของญาติๆ คนไหนต้องการปลูกบ้านขึ้นมา จะได้ดูไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวคนในบ้านนั่นเอง

โครงสร้างบ้านลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางขนานตามแนวพื้นที่ สถาปนิกเลือกดีไซน์หลังคาเป็นทรงจั่ว เพื่อให้กลมกลืนไปกับบริบทรอบข้างโดยไม่แปลกแยก อีกทั้งยังเป็นรูปทรงที่ชวนให้นึกถึงความทรงจำในวัยเด็ก ซึ่งเรามักจะวาดรูปบ้านหลังคาทรงจั่วกันด้วย

เมื่อยืนมองจากภายนอกรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นคุ้นเคย มีความเรียบง่ายสบายตา โดยสถาปนิกพยายามลดทอนองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นลง อย่างบริเวณหน้าบ้านจะมีเพียงหน้าต่างบานเล็กๆ ที่สอดคล้องกับฟังก์ชันซึ่งเป็นทิศที่ร้อน หน้าต่างส่วนนี้จึงออกแบบไว้สำหรับระบายอากาศเท่านั้น

บ้าน-สวน-ใน-ฝัน

บ้านสวนในฝัน

เชื่อมโยงการใช้ชีวิตผ่านมุมมองธรรมชาติอย่างสมดุลสำหรับการวางตำแหน่งฟังก์ชันของบ้าน คุณโปลก้าเล่าต่อว่า “เริ่มตั้งแต่พื้นที่จอดรถ ถ้าเป็นแบบบ้านสมัยก่อน ผู้อาศัยส่วนใหญ่มักวางครัวไว้หลังบ้าน เพราะเป็นส่วนที่ไม่อยากโชว์มากนัก แต่สำหรับบ้านหลังนี้ได้วางตำแหน่งครัวไว้หน้าบ้าน เพราะเป็นทิศที่ค่อนข้างร้อน ตอนวางผังร่วมกับเจ้าของบ้านต่างก็เห็นตรงกันว่าโรงจอดรถไม่ใช่ส่วนที่สวย นั่งมองจากตัวบ้าน ก็ไม่ใช่วิวที่ดีนัก”

“อีกอย่างบ้านนี้ประกอบอาหารหนัก ซื้อของเข้าบ้านบ่อย ด้วยข้อมูลและการศึกษาพฤติกรรมของเจ้าของบ้านที่รวบรวมมาได้ หากวางครัวไว้หน้าบ้าน ก็จะช่วยกั้นความร้อนเข้าบ้านได้ระดับหนึ่ง พื้นที่ครัวเองก็จะได้สะอาดอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเจ้าของกลับมาจากข้างนอก ก็สามารถเดินเก็บของเข้าครัวได้เลย ไม่ต้องเดินตัดผ่านส่วนอื่นๆ โดยจะมีทางเข้าด้านข้างครัวโดยเฉพาะ”

ถัดจากพื้นที่จอดรถจะพบกับช่องโค้ง (Arch) ก่อนจะเข้าสู่ภายในบ้าน ผู้ออกแบบได้จัดสรรที่นั่งด้านซ้ายมือ พร้อมตู้สำหรับจัดเก็บรองเท้าด้านขวามือ ส่วนนี้ถูกออกแบบสเต็ปพื้นให้ต่ำกว่าพื้นในบ้าน พร้อมกำหนดฟังก์ชันด้วยพื้นกระเบื้องคนละโทนสีกับพื้นภายในอย่างชัดเจน  สถาปนิกเล่าต่อว่า “เมื่อผู้อาศัยกลับเข้ามา ก็จะต้องนั่งถอดรองเท้าและจัดเก็บให้เรียบร้อย หรือแม้ก่อนออกจากบ้านก็จะมานั่งใส่รองเท้ามุมนี้เช่นกัน” ต้องบอกเลยว่าส่วนนี้เป็นฟังชันที่สถาปนิกหนุ่ม ได้วางไว้แทบจะทุกบ้าน เพื่อเป็นการกำหนดพฤติกรรมของผู้อาศัยให้เหมาะสม และจัดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรก

เมื่อผ่านส่วนถอดรองเท้าเข้ามาภายในตัวบ้าน แม้มองผ่านภาพถ่ายก็สัมผัสได้ทันทีถึงความโปร่งโล่ง อบอุ่นสบายตา เปิดมุมมองเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นโจทย์หลักของเจ้าของบ้าน ที่ต้องการโถงแบบ Double Volume โดยให้ความสำคัญกับสเปซที่โปร่งกว้าง เชื่อมต่อถึงกันเพื่อให้ครอบครัวได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ส่วนนี้จะพบกับมุมรับประทานอาหาร ที่เชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่นั่งเล่นอย่างลื่นไหลในลักษณะ Open Plan โดยสถาปนิกได้เลือกวางตำแหน่งห้องนั่งเล่นให้ชิดมาทางทิศตะวันออก ที่สามารถเปิดออกไปยังวิวริมบึงได้อย่างชัดเจน

บ้านสวนในฝัน

บริเวณใต้บันไดก็ได้มีการเจาะช่องเปิดขนาดเล็ก ทันทีที่เจ้าของบ้านนั่งรับประทานอาหาร ระดับสายตาก็จะมองออกไปเห็นวิวที่พอดีกับช่องดังกล่าว ซึ่งเป็นช่องเปิดที่ไม่ได้ใหญ่มาก สถาปนิกได้มองเผื่อในอนาคตแล้วว่า หากที่ดินผืนใกล้กันมีการสร้างบ้าน ก็จะดูไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของคนในบ้านเช่นกัน

ถัดไปจัดสรรเป็นห้องนอนของคุณพ่อคุณแม่เจ้าของบ้าน ที่เปิดเข้าหาวิวบึงน้ำพอดี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกก็จะได้แสงเช้า พอช่วงบ่ายก็จะร่ม มาพร้อมระเบียงส่วนตัวที่ติดกับระเบียงส่วนนั่งเล่น โดยมีผนังแบ่งกั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว

บริเวณชั้นสอง ประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง และห้องทำงานของผู้เป็นเจ้าของ สถาปนิกหนุ่มได้มีการจัดการฟังก์ชันได้อย่างน่าสนใจ โดยอาศัยความเป็น Double Space ที่ไม่เพียงแค่ความโปร่งโล่ง แต่ยังเปิดมุมมองไปยังวิวบึงน้ำ และบรรยากาศสวนเบื้องหน้า ทั้งยังช่วยสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างห้องนั่งเล่นชั้นล่างกับห้องทำงานชั้นบน ให้ลื่นไหลต่อเนื่องถึงกัน ทันทีที่เปิดช่องหน้าต่างบริเวณห้องทำงาน พื้นที่ทั้งสองชั้นก็คล้ายถูกเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน

บ้านสวนในฝัน

เมื่อออกจากห้องทำงาน จะพบกับทางเชื่อมที่คล้ายเป็นสะพาน พาเดินผ่านส่วนโถงสูง  บ้านสวนในฝัน มองทะลุผ่านกระจกบานใหญ่ไปยังบึงน้ำด้านหลังได้อย่างชัดเจน ก่อนจะเดินผ่านไปยังส่วนสุดท้ายที่จัดสรรเป็นห้องนอนหลักของผู้เป็นเจ้าของ

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าแนวทางการออกแบบของคุณโปลก้า จะไม่เน้นไปทางปูนเปลือยหนักๆ หรือเป็นโทนสีเข้ม ชายหนุ่มบอกกับเราว่า “โดยส่วนตัวผมมองว่า บ้าน เป็นพื้นที่ส่วนตัวที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่ยาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่แวะมาดูผิวเผินเป็นครั้งคราว แต่ถ้าสิ่งใดที่รู้สึกได้ถึงความหวือหวาหรือแปลกใหม่มากๆ ผมมองว่าอาจเป็นรีสอร์ท ร้านอาหาร คาเฟ่ ที่แวะเวียนไปสักพักแล้วก็กลับไม่ได้อยู่ประจำ แต่ว่าบ้านเป็นพื้นที่ให้เราใช้ชีวิตอยู่ตลอด ผมเลยมองว่าบ้านทุกหลัง จะต้องมีความอบอุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุ โทนสี หรือแม้แต่บรรยากาศก็ตาม”

บ้านสวนในฝัน

ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทโดยรอบ บ้านหลังนี้จึงดูเรียบง่ายกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติ ส่วนสำคัญที่เป็นเหมือนหัวใจของบ้านคงหนีไม่พ้นการออกแบบส่วน Double Volume ซึ่งเป็นความตั้งใจแรกเริ่มของผู้เป็นเจ้าของ คุณโปลก้าบอกเล่าปิดท้ายว่า “หากเป็นบ้านทั่วไป รูปแบบดับเบิ้ลสเปซ ก็คือได้ความโปร่ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นห้องนั่งเล่น

บ้านสวนในฝัน

แต่บ้านหลังนี้แตกต่างออกไป เพราะไม่เพียงแค่ความโปร่งโล่งของส่วนนั่งเล่นเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่ชั้นล่างและชั้นบนให้ต่อเนื่องไม่ตัดขาดจากกัน พร้อมกันนี้ยังได้กระจกใสบานใหญ่บริเวณชั้น 2 ที่ช่วยเปิดมุมมองให้เห็นวิวบึงน้ำเบื้องหน้าได้อย่างเต็มตา” บ้านสวนในฝัน จึงเป็นความสมดุลของสเปซ การใช้ชีวิต บนดีไซน์ที่เรียบง่าย สอดคล้องกับวิถีชนบทในอำเภอสันทรายได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว click here

Author: admin