Nightingale House

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น หากใครเคยไปเยือนประเทศออสเตรีย จะพบว่าสภาพภูมิอากาศจะค่อนข้างหนาวเย็น แดดน้อยมีฝนปรอย ๆ ทั้งวัน บรรยากาศอึมครึม ผู้คนที่นิยมใส่เสื้อโค้ททึม ๆ เมื่อรวมเข้ากับสถาปัตยกรรมยุคเก่ายิ่งทำให้รู้สึกหดหู่ไม่สบายใจได้ง่าย การสร้างบ้านที่เติมความ “รู้สึกอบอุ่น” และให้ “สัมผัสความอุ่น” ด้วยดีไซน์โมเดิร์นผสมงานไม้จึงเป็นอีกทางเลือกที่เราจะเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ที่ดูปุ๊บประทับใจปั๊บ น่าลองนำมาปรับใช้กับบ้านเราดูนะครับ

ที่ตั้งของบ้านอยู่ใน Elsbethen Luxury Villa ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Salzburg ภูมิประเทศของพื้นที่ก่อตัวเป็นเชิงเขามีภูมิทัศน์ภูเขาโดยรอบ ทำให้เกิดความลาดชันเล็ก ๆ จากตะวันออก-ตะวันตก บ้านจึงออกแบบให้ไหลลงไปตามลักษณะของพื้นที่  ส่วนแนวคิดในการออกแบบหลัก ๆ เจ้าของบ้านต้องการ “สถาปัตยกรรมในชีวิตประจำวัน” ที่มีความเรียบง่าย ความเป็นส่วนตัว บรรยากาศที่เปิดกว้างและสว่างไสว ตลอดจนการเชื่อมต่อที่ลื่นไหลระหว่างภายในและภายนอก จึงเป็นที่มาของบ้านไม้ปนคอนกรีตหลังคาจั่วตกแต่งระแนงไม้ที่เรียบ ๆ แต่ชวนให้ประทับใจ

หนึ่งโจทย์ที่เจ้าของบ้านต้องการ คือ ทางเข้าที่มีหลังคา ทำให้ด้านหน้ามีคานคอนกรีตยื่นออกมาคลุมประตูทางเข้า ลักษณะคล้ายลานบ้านที่มีการป้องกันซึ่งสัมพันธ์กับถนน ให้ทั้งความเป็นส่วนตัวและความคล่องตัวผ่านเฉลียงและระเบียง พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดสามารถโต้ตอบกับพื้นที่เปิดโล่งที่ปลอดภัยนี้ และยังสร้างการเชื่อมต่อกับสวนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้หน้าบ้านยังมีม้านั่งไม้บิลท์อินติดผนัง ทำให้รู้สึกเป็นมิตรเหมือนบ้านญี่ปุ่นที่มักมีที่นั่งให้เพื่อนบ้านในชุมชนได้แวะมานั่งพัก อ่านเพิ่มเติม

บ้านไม้สไตล์โมเดิร์น

แปลนอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีหลังคาลาดเอียงสอดคล้องกับบ้านโดยรอบ การตกแต่งภายในค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับบ้านในโซนนี้เพราะ บ้านเต็มไปด้วยงานไม้ทั้งพื้น ผนัง เพดาน โอบอุ้มบ้านด้วยสัมผัสความอบอุ่น ผนังกระจกขนาดใหญ่ที่ดึงแสงเข้ามาได้มากขึ้น แม้จะเป็นฤดูหนาวแต่บ้านไม่อึมครึม สเปซภายในเป็นพื้นที่เปิดโล่งทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ชั้นล่างเป็นแปลนแบบ open plan เชื่อมโยงห้องครัว เตาผิง พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องโถงเข้าด้วยกัน เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวันที่สะดวกและใกล้ชิดกันมากขึ้น ในห้องนั่งเล่นยังมีเปลญวณผูกเอาไว้นอนเล่นดูวิวนอกบ้านในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจด้วย

เหนือมุมทานข้าวเลยมาถึงจุดนั่งเล่น จะเจาะเพดานขึ้นเป็นโถงสูง ซึ่งส่งผลในการใช้งานที่เป็นประโยชน์กับบ้านในหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นล่างและชั้นบนให้สื่อสารกันได้แบบไม่ขาดตอน การเปิดพื้นที่ให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นและระบายออกจากตัวบ้านได้ดีในฤดูร้อน และยังสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบ้านไปพร้อมกัน ด้วยการติดตั้งเชือกใยยักษ์เป็นพื้นที่นั่งเล่นเหมือนสนามเด็กเล่นเข้าไปในช่องว่างนั้น ทำให้บ้านมีความน่าสนุก

ชั้นบนก็ยังคง concept งานไม้ทำให้อุ่นเท้าเวลาเดิน ในชั้นนี้ก็มีเตาผิงขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ พร้อมกับเพิ่มความสว่างผ่านช่องแสง skylight บนหลังคา ทำให้บ้านสว่างไสว มองไปทางไหนก็รู้สึกว่าบ้านดูผ่อนคลายเป็นมิตร น่าอยู่ในทุกฤดูกาล

บ้านไม้

บริเวณฟาซาดระแนงไม้อยู่ตรงกับฟาซาดไม้ระแนงที่ช่วยพรางสายตาผู้คนที่ผ่านไปมาบนถนน ส่วนผนังชั้นในเป็นบานประตูกระจกใสเต็มพื้นที่ผนังเฉียงเอียงไปตามรูปร่างหลังคา ห้องนอนจึงได้รับทั้งแสงธรรมชาติ วิวในมุมสูง เพิ่มบรรยากาศที่น่าอยู่แม้อากาศข้างนอกจะหนาวเหน็บเต็มไปด้วยหิมะ หมอก ฝน  ก็ไม่ทำให้จิตใจหดหู่ซึมเศร้าไปกับอากาศ

 แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของบ้านเขตหนาวในอดีต จะก่อผนังปิดบ้านทึบเกือบทั้งหลัง มีช่องแสงขนาดเล็ก ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในบ้าน ไม่ให้อากาศเย็นที่รุนแรงเข้าไปภายใน ซึ่งอาคารแบบนี้จะสัมพันธ์กับความทึบ มืด และชื้น เนื่องจากบ้านขาดพื้นที่รับแสง อาจทำให้การอยู่อาศัยไม่สบายและรู้สึกหดหู่ได้ง่าย ต่อมาในยุคใหม่จึงมีการปรับเปลี่ยนจากผนังทึบมาเป็นกระจกใส เพื่อเป็นช่องทางรับแสงและควบคุมอุณหภูมิในบ้านให้อุ่นขึ้น โดยที่บรรยากาศของบ้านยังสดชื่นสว่างขึ้นด้วย ทั้งนี้หาจะนำมาปรับใช้ในบ้านเขตร้อนจะต้องเลือกทิศทางติดผนังกระจกที่แดดไม่ส่องแรงในช่วงบ่าย และใช้กระจกแบบตัดแสงหรือมีคุณสมบัติสะท้อนแสง เป็นต้น

บ้านไม้อยู่แล้วดีอย่างไร? รวม 10 ข้อดีของการอยู่อาศัยในบ้านไม้

บ้านไม้

ในอดีต ไม้ เป็นวัสดุหลักที่มนุษย์เรานำมาใช้ในการสร้างบ้าน เนื่องด้วยไม้สามารถหาได้ง่ายตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้เราจะมีวัสดุทดแทนต่างๆ มากมายที่ใช้เป็นวัสดุในการสร้างบ้าน แต่ความนิยมในการใช้ไม้สร้างบ้านกลับไม่เคยลดลงไปตามกาลเวลาเลย

หลายคนคงเกิดการตั้งคำถามอยู่ในใจว่าเป็นเพราะอะไร ใช้ไม้สร้างบ้านจะดีจริงหรือ? ต้นทุนวัสดุก่อสร้างก็ไม่ใช่ถูกๆ อยู่อาศัยแล้วจะคุ้มค่าไหม? อยู่ในบ้านที่สร้างด้วยไม้จะเป็นอย่างไร? ซึ่งในบทความนี้จะขอนำเสนอ 10 คำตอบของคำถามมากมายเหล่านี้ให้ครับ

1. บ้านไม้อยู่แล้วเย็นสบายไม่อบอ้าว

แม้ว่าบ้านไม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนเท่าไหร่นัก แต่ข้อดีของไม้ คือสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลง และไม่ร้อนอบอ้าว ยิ่งในช่วงกลางคืน บ้านไม้ยิ่งมอบความเย็นสบายได้มากกว่าวัสดุอื่น

2. บ้านไม้ทำให้พื้นที่ดูกว้างขวางขึ้น

ด้วยลักษณะของพื้นและผนังไม้ที่เป็นแผ่นแนวยาว จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าห้องดูกว้างขวางกว่าความเป็นจริง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ มอบความสบาย ทำให้ไม่รู้สึกแออัดในพื้นที่กรอบสี่เหลี่ยมเดิมๆ

3. บ้านไม้สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้หลากหลาย

เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง หากต้องการปรับแต่ง ต่อเติมก็สามารถทำได้ง่าย ไม้สามารถนำมาตกแต่งโดยผสมผสานเข้ากับวัสดุอื่นๆ ได้อย่างลงตัว โดยเราจะเห็นแบบบ้านไม้ผสมกับปูนอยู่บ่อยๆ หรือจะเป็นโครงสร้างเหล็กผสมกับไม้ก็มีให้เห็นกันทั่วไป นอกจากนี้ บ้านไม้ยังสามารถโยกย้าย และรื้อถอนเพื่อนำไปปลูกสร้างในที่ดินผืนใหม่ได้ ต่างจากปูนที่ต้องทุบทิ้งอย่างเดียว

4. บ้านไม้อยู่แล้วอากาศถ่ายเท

เนื่องจากบ้านไม้จะมีช่องว่างตามรอยต่อของไม้ในจุดต่างๆ จึงทำให้มีความโปร่ง และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีกว่า จึงช่วยให้หายใจสะดวก ไม่อุดอู้ ต่างจากบ้านปูนที่หากไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ จะมีความร้อนมากกว่า 

บ้านไม้

5. บ้านไม้อยู่แล้วปลอดภัยจากแผ่นดินไหวมากกว่า

เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว มักพบว่าบ้านที่ทำจากวัสดุไม้เป็นหลัก จะเกิดความเสียหายน้อยกว่า หรือ บางครั้งก็ไม่พบความเสียหายเกิดขึ้นเลย นั่นเป็นเพราะความแข็งแรงของไม้ที่แฝงความยืดหยุ่นในตัวเอง ในขณะที่บ้านประเภทอื่น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอาจเกิดการแตกตัว แต่ไม้จะยังคงทนอยู่ในจุดที่สูงกว่านั่นเอง ประกอบกับโครงสร้างไม้มีน้ำหนักเบากว่า เมื่อเกิดแรงปะทะจากแผ่นดินไหว จึงเกิดแรงปะทะที่น้อยกว่าโครงสร้างที่มีน้ำหนักมากกว่า เช่น ปูน เป็นต้น

6. บ้านไม้มีความคงทน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

หากบ้านไม้ของเราสร้างขึ้นจากไม้เนื้อแข็งคุณภาพดีเป็นหลัก อย่างไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งชนิดต่างๆ ประกอบกับการดูแลเอาใจใส่รักษาเนื้อไม้เป็นอย่างดี เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยารักษาเนื้อไม้ “Solignum Colourless TK” ป้องกันปลวก และแมลงทำลายเนื้อไม้ ก็จะได้บ้านที่มีความคงทน อยู่อาศัยได้ยาวนาน 

7. บ้านไม้อยู่แล้วเท่ คลาสสิก มีรสนิยม

บ้านไม้ ไม่เคยตกยุคตกสมัยไปตามกาลเวลา เพราะบ้านไม้อยู่ร่วมสมัยกับคนเรามาโดยตลอด ให้ความคลาสสิก ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปีก็ยังคงสร้างรสนิยมให้กับผู้อยู่อาศัยได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

8. บ้านไม้อยู่แล้วรักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เทรนด์รักษ์โลกในปัจจุบันได้รับความนิยมกันในหลายๆ ภาคส่วนมากขึ้น ซึ่งการใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างนั้นนับว่าสอดคล้องกับเทรนด์นี้ เนื่องจากไม้สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้ สร้างใหม่ทดแทนได้ อีกทั้งยังย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ การใช้วัสดุไม้ในการก่อสร้าง แทนวัสดุอย่างเหล็ก หรือ คอนกรีต ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากสิ่งปลูกสร้างได้มากกว่า 80% จึงช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

9. บ้านไม้อยู่แล้วช่วยเสริมสร้างไอเดียและจินตนาการ

ในข้อนี้อาจฟังดูเป็นนามธรรม แต่หากได้สัมผัส หรือ คลุกคลีอยู่กับวัสดุไม้ จะรู้สึกได้ถึงข้อดีข้อนี้ สังเกตได้จากที่มีการใช้ไม้มาทำเป็นของเล่นเด็ก เช่น ตัวต่อไม้ ของเล่นไม้เสริมพัฒนาการ ซึ่งเด็กจะสร้างสรรค์เป็นรูปทรง สิ่งของต่างๆ ตามจินตนาการ นับได้ว่าไม่ต่างอะไรกับผู้ใหญ่อย่างเรา ที่เมื่อมองรูปทรงต่างๆ ของไม้ภายในบ้านทุกวัน ก็อาจเกิดปิ๊งไอเดียนำมาพัฒนา หรือประยุกต์เข้ากับงานที่ทำอยู่ก็เป็นได้

10. บ้านไม้อยู่แล้วทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกสูง ทั้งยังหนีไม่พ้นปัญหามลพิษทางอากาศ หากได้อาศัยอยู่ท่ามกลางบ้านที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ คงจะทำให้เรารู้สึกสดชื่นมากกว่าบ้านที่ถูกเคลือบปิดด้วยวัสดุชนิดอื่นๆ สังเกตได้จากบ้านพัก หรือรีสอร์ท ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ต่างนิยมใช้วัสดุไม้เป็นหลัก เพราะให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างสมดุล ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อไม้ยังมีความสวยงามและมอบสัมผัสที่อบอุ่นได้อีกด้วย

Author: admin